วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 5 เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)

เครือข่ายใยแมงมุม
        ระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก และการใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นการใช้งานที่ทำได้ง่าย สะดวก และมีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบทำให้ทุกคนสามารถใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ได้ด้วยตนเอง และในระบบงานราชการของไทยในยุคปัจจุบันก็จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย ในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน เพื่อทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ถึงกันได้ และช่วยลดปริมาณกระดาษในการนำส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานได้อีกด้วย
        การ บริการอย่างหนึ่งซึ่งมีความสำคัญในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเชื่อมโยงเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลก จึงทำให้ระบบนี้ถูกเรียกว่า “เครือข่ายใยแมงมุม” (World wide Web) หรือ www หรือ web นั่นเอง


        ระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ (World wide Web) ได้พัฒนาขึ้นมา ในช่วงปลายปี 1989โดย ทิม เบอร์เนอร์ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์จากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Partide Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ ใช้โปรโตคอล (Protocol) HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) และได้มีการพัฒนาภาษาที่ใช้สนุบสนุนการเผยแพร่เอกสารเว็บจากเครื่องแม่ข่ายที่เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ เรียกว่าภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงเว็บเพจผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) นั่นเอง


        การ เผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตผ่านสื่อประเภทเว็บเพจเป็นที่นิยมอย่างสูงใน ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาสินค้า การศึกษาข้อมูล ความรู้ต่างๆ การเผยแพร่ข้อมูลทางการแพทย์ การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต การซื้อ-ขายสินค้า ตลอดจนความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม การเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบนี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มของผู้ที่สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารก็ทำให้ทั้งรูปแบบข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ จึงทำให้ระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


        ลักษณะ ของการการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจคือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บเพจได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “Hyper Text” ซึ่งเป็นข้อ ความที่มีความสามารถมากกว่าข้อความปกติ จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเก็บสามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเองตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง




               ถ้า นายทิม เบอร์เนอร์ลี ตัดสินใจจดสิทธิบัตรแทคโนโลยีของเขาไปเอปี 2532 โลกอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันคงจะแตกต่างไปจากที่เราเห็นกันอยู่โดยสิ้นเชิง และคงจะไม่มี “เวิลด์ ไวด์ เว็บ” (World Wide Web) ที่สามารถใช้บริการได้ฟรี


        นายเบอร์เนอร์ลี ถือได้ว่าเป็นบิดาผู้ให้กำเนิดโลกเวิลด์ ไวด์ เว็บก่อนหน้าที่เขาจะคิดค้นเทคโนโลยีตัวนี้ขึ้นมา โลกนี้ยังไม่มีโปรแกรมท่องอินเตอร์เน็ต หรือ เบราว์เซอร์ (Browser) ไม่มีตัวอักษร “WWW” ที่อยู่หน้าเว็บไซต์ ไม่มียูอาร์แอล (URL) และไม่เคยมีการกำหนดพื้นที่แสดง ข้อมูล ที่เป็นมาตรฐานเดียว
        เขาเป็นผู้คิดค้นโปรโตคอลการสื่อสารหลัก “เอชทีทีพี” (Http) ตัวแรกที่ใช้ในการรับส่งหน้าเว็บรวมทั้งภาษา HTML ที่ใช้สรร้างโปรโตคอลตัวนี้ขึ้นมาด้วย และก่อนวันคริสต์มาส เมื่อปี 2533 เขาสามารถสร้าง “เบราว์เซอร์” หรือโปรแกรมท่องอินเตอร์เน็ตตัวแรกได้สำเร็จ พร้อมตั้งชื่อให้อย่างง่ายๆ ว่า “เวิลด์ ไวด์ เว็บ
        ซึ่ง ต่อมาได้มีนักคิดค้นจำนวนมากที่ได้นำแนวคิดนี้ไปจดสิทธิบัตร ล้วนแต่กลายเป็นเศรษฐีทั้งสิ้น เช่น เจฟฟ์ เบโซส์ (อะเมาซอน ดอท คอม) เจอร์รี่ หยาง (ยาฮู) หรือ มาร์ค แอนดรีเอสเซ่น (เนทสเคป) แค่ด้วยเหตุที่ เบอร์เนอร์ลี และโรเบิร์ต ไคลิโอ เพื่อนร่วมงานชาวเบลเยี่ยม ยืนยันที่จะใช้เทคโนโลยีตัวนี้เป็นของฟรี จึงทำให้คอทพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถมองเห็นหน้าเว็บเดียวกันได้
        ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเป็นผู้แรกที่คว้ารางวัล “เดอร์ มิลเลนเนียม ไพรซ์” ของสถาบันเทคโนโลยีฟินแลนด์ ที่มีการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้เอง



        เว็บเพจ (Web Page) คือ หน้าเอกสารเว็บ (Web) แต่ละหน้าที่สามารถเชื่อมโยงกันได้เปรียบเสมือนหน้าของหนังสือที่เราอ่านแต่ละหน้า
        เว็บไซต์ (Web Site) คือ หน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า นำมารวมกันเปรียบได้กับหนังสือ 1 เล่มที่ประกอบด้วยหน้าของหนังสือหลายๆ หน้า
        โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ (Web Site) เปรียบได้กับปกหนังสือที่จะอยู่ที่หน้าแรกสุดก่อนที่จะเปิดเข้าไปอ่านเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นๆ


        โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น http, ftp, หรือ pop เป็นต้น


หมายเลขประจำเครื่อง (IP Address)


         การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมต่อกันในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐาน TCP/ IP (Trams,ossopm Cpmtrp Protocl / Interner Protocol)เครื่อง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขประจำตัว เพื่อจะได้สามารถอ้างอิงหมายเลขในการเรียนใช้งาน และหมายเลขประจำตัวนี้จะต้องไม่ซ้ากันเช่นเดียวกับหมายเลขประจำตัวประชาชน ของแต่ละบุคคล ซึ่งหมายเลขประจำตัวนี้จะไม่ซ้ำนเช่นเดียวกับหมายเลขที่เรียกว่า IP Addtess (Interner Protocol Address)หรือ "หมายเลข IP"


        IP Address คือ หมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การกำหนดหมายเลข IP Address ประกอบด้วยเลขหมายจำนวน 4 ชุด ๆ ละ 8 บิต จะรวมเป็นค่าตัวเลข 32 บิต ค่าของตัวเลขแต่ละส่วนมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255


        สามารถเขียนเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยเครื่องด้วยหมาย จุด (.)เช่น 202.14.164.0 ซึ่งแต่ละชุดของ IP Address จะมีตัวเลขไม่เกิน 3 ตัว และค่าของตัวเลขแต่ละชุด จะไม่เกิน 255 และการกำหนดค่า IP Address จุต้องอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกลาง คือ Inter NIC (Internet Netwok Informarion Center)ขององค์การ Nerwork Solution Incorporated (NSI)ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา องค์กรหรือหน่วยงานใดที่ต้องการ IP Address ต้องสมัครเป็นสมาชิดกับองค์การ Inter NIC
        นอกจากนี้สามารถที่จะขอ IP Address ได้จาก ISP (Interner Service Provider)คือบริษัทผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่ง ISP ได้ขอหมายเลข IP Address จาก InterNIC เอาไว้แล้ว เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของตน
        การแบ่งกลุ่มของ IP Address จะเรียกว่า คลาส (Class)สามารถแบ่งออกเป็น 5 คลาส ดังนี้


Class
Range
A

B

C

D

E
0.0.0.0      ถึง 127.255.255.255

128.0.0.0  ถึง 191.255.255.255

192.0.0.0  ถึง 223.255.255.255

224.0.0.0  ถึง 239.255.255.255

240.0.0.0  ถึง 247.255.255.255



โดเมนเนม (Domain Name)


        โดเมนเนม หรือที่เรียกว่า ที่อยู่ของเว็บไซต์ เป็นชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกหมายเลข IP Addressเนื่องจากเกิดความยุ่งยากในการจำหมายเลข IP Address เวลา ที่ต้องการท่องเที่ยวในอินเทอร์เน็ต จึงได้นำตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับหมายเลข IP Address ชื่อของโดเมนเนมแต่ละชื่อจะมีอยู่หนึ่งเดียวเท่านั้น


        เช่น เว็บไซต์ของบริษัท เค โอ แอล เน็ต จำกัด มีหมายเลข IP Address คือ 210.86.141.20 ชื่อของโมเมนเนมแต่ละชื่ออยู่หนึ่งเดียวเท่านั้น


        โด เมนเนมถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เพราะได้มีการจดทะเบียน ดังนั้น จึงต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนโดเมนเนม ซึ่งในประเทศๆไทยหน่วยงานที่รับผิชอบ คือ "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย THNIC : Thailand Nertwork Informarion Center"


สาระน่ารู้เกี่ยวกับ Domain Name
        1. โดเมนเนมแรก คือ Symbolics .com ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1985
        2.Park คือ การจองโมเมนเนม โดยที่ยังไม่นำไปใช้งาน
        3.Cybersquatter คือ ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการขายโดเมนเนมให้กับผู้อื่น
        4.ติดตามสถิติการจดโดเมนเนมทั่วโลกได้จาก http://www.domainstats.com/
        5.ICANN htt://www.icann.org เป็น องค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจที่มีชื่อ เสียงที่ทำหน้าที่บริหารระบบโดเมนเนม จัดสรรหมายเลขไอพีบริหารระบบอุปกรณ์ด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมนเนม และกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลสื่อสาร โดยไม่หวังผลกำไร
        6.ในอดีตชื่อโดเมนเนม ยาวไม่เกิน 22 ตัวอักษร และได้เปลี่ยนเป็น 63 ตัวอักษร ตั้งแต่ปลายปี 1999 โดยเปลี่ยนไม่เกิน 11 ตัวอักษร
        7.ในการขอจดชื่อโดเมนเนมจะเป็นสิทธิ์แบบเช่าชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และต้องต่ออายุใหม่
        8.ตรวจสอบชื่อโดเมนเนมได้จากเว็บไซต์


           - http://www.netsol.com                                       - http://www.thnic.net
                                       (http://www.nectec.or.th/courseware)


โครงสร้างของระบบ Domain Name




                           www.nvc-korat.ac.th                                   mail.nvc-korat.ac.th


        Root Bomain: คือระดับบนสุดของระบบโดเมนเนม ซึ่งทุกโดเมนเนมจะต้องอยู่ภายใต้รูปโดโมเมนทั้งหมด
        Top-Level Domain : คือระที่รองมาจากรูปโหนดโดเมน จะเรียกว่าโดเมนระดับที่หนึ่งซึ่งโดเมนในระดับนี้จะถูกกำหนดโดยประเภทองค์กร (Organization Domains)และประเทศที่จดทะเบียนโดเมน (Geographical Domains)


        Second-Level Domain: โดเมนเนมระดับที่ 2 รองมาจาก Tpp-Level Domain  จะเป็นโดเมนเนมที่แจกจ่ายให้กับองค์กรหรือบุคคลที่ต้องการมีโดเมนเนม (จตุชัย แพงจันทร์ และคณะ 2547207)


ลักษณะของ Domain Name






        ส่วนที่ 1 ชื่อของการให้บริการ www คือ การให้บริการแบบเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงเอกสารไปได้ทั่วโลก
        ส่วนที่ 2 ชื่อเว็บไซต์ โดยส่วนมากมักจะใช้ชื่อของหน่วยงาน องค์กร หรือชื่ออื่นใดก็ได้ตามความต้องการจากตัวอย่าง nvc-korat คือ ชื่อที่ใช้แทนวิทยบาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมาโดยการตั้งชื่อนั้นไม่มีกฎข้อ บังคับใด ๆ แต่มักจะนิยมตั้งชื่อให้สอดคล้องกับหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น เพื่อให้ผู้ใช้จดจำได้ง่าย
        ส่วนที่ 3 ประเภทของโดเมนเนม (Domain Name)


โดเมนเนม (Domain Name) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
        1.Organization Domains โดเมนเนม 2 ระดับ แสดงถึงองค์กร หรือหน่วยงานลักษณะดังนี้ เช่น www.thai2learn.com , www.berkeley.eduhttp://www.pladib.net/




        2.Geographical Domains โดเมนเนม 3 ระดับ มีลักษะดังนี้ www.google.co.th,www.nvc-korat.ac.th ซึ่งจะแตกต่างจากรูปแบบของ 2 ระดับ คือ หลังจากบอกประเภทขององค์แล้วจะตามด้วยชื่อประเทศที่ตั้งขององค์กรนั้น




วิธีการจดทะเบียน Domain Name


        วิธีการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) นั้น สามารถกระทำผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือสามารถขอขดทะเบียนผ่านทางบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ โดยถ้าต้องการจดโดเมนเนมแบบ Geoganizization ก็สามารถจะทะเบียนผ่านทาง www.thic.net แต่ถ้าต้องการจดทะเบียนเป็นแบบ Organixation Domains ก็สามารถเลือกจดทะเบียนได้ตามเว็บไซต์ที่เป็นตัวแทน เช่น www.netdesighost.com


        แสดงตัวอย่าง : ขั้นตอนในการจดทะเบียนโดเมนเนมแบบ Organization Domains ดังต่อไปนี้
        1.พิมพ์ www.netdesignbost.com
        2.เลือกเมนู Domain Name
        3.พิมพ์ ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการ เพื่อตรวจสอบว่าชื่อนี้มีการจดทะเบียนหรือยัง ถ้ามีการจดทะเบียนไปแล้ว เราจะต้องใช้ชื่อใหม่เพราะไม่สามารถที่จะจดทะเบียนด้วยชื่อที่ซ่ำกันได้
        4.ถ้าชื่อโดเมนเนมที่เราได้ตรวจสอบไปนั้นยังไม่มีผู้ใดใช้อยู่จะแสดงชื่อ เพื่อให้เลือกประเภทขององค์กรที่ต้องการ เช่น kulrapee.com , kulrapee.org,kulrapee.net
        5.ให้กำหนด Username และ Password ที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียนโดเมนเนม
        6.กรอกข้อมูลการลงทะเบียน
        7.แสดงข้อมูลการลงทะเบียนมาให้ตรวจสอบอีกครั้ง
        8. แสดงรายละเอียดการชำระเงินค่าจดทะเบียนโดเมนเนม เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้วก็จะมีโดเมนเนมตามที่ได้ข้อจดทะเบียนไว้


รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล


        การท่องเที่ยวในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีเมนูหรือตำแหน่งของการเชื่อมโยง(link)ไป ยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์ที่เป็นส่วนย่อยของเว็บไซต์นี้ หรือเป็นเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บไว้ในกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วบางครั้งเสมือนกับเราได้เปิดประตูเข้าไปในทีละชั้นจนพบ กับข้อมูลที่เราต้องการ เมื่อดูที่ช่องที่อยู่ (Address)จะเห็นว่าชื่อของเว็บไซต์นั้นมีชื่อยาวขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
       การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser)ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะถูกกำหนดโดยรหัสสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า URL (Uniform Resource Locatpr)ใช้สำหรับสืบค้นแหล่งข้อมูล
        ดังนั้นการใช้ URL ก็เสมือนกับการสั่งให้กระโดดไปยังหน้าที่ต้องการโดยไม่ต้องเปิดเข้าไปหาทีละหน้า เพราะได้ทราบถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะไปแล้ว


        รูปแบบของ URL ที่ใช้กับ Web Server มีดังนี้




หมายเลข 1 Protocol คือ ชื่อของมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารของเว็บไซต์ เช่น http,ftp ,gopher
หมายเลข 2 Domain Name คือ ส่วนที่ระบุชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่
หมายเลข 3 File Locator คือ ตำแหน่งของไฟล์ในเว็บไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                1.ส่วนที่ระบุที่เก็บข้อมูลในเครื่อง
                2.ชื่อไฟล์ข้อมูลที่อ้างถึง


การเชื่อมโยงข้อมูล (Link)
        เว็บเพจแต่ละหน้าใน World Wide Web จะ สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ทำให้เราสามารถที่จะเรียกดูเว็บเพจอื่นโดยการคลิกเมาส์เพื่อกระโดดไปยัง ข้อมูลที่ต้องการได้ เราสามารสร้าง จุดเชื่อมโยงผ่านทางข้อความ รูปภาพ หรือปุ่มเมนู โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูป เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่าจุดใดเป็นจุดเอมโยงข้อมูล (link)เมื่อคลิกเลือกเว็บเพจที่จะถูกเชื่อมโยงไว้จะถูกเรียกมาแสดง

 การเชื่อมโยงข้อมูล (Link) สามารถเชื่อมโยงได้ดังนี้
        1.การเชื่อมโยงข้อมูลภายในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
        2.การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายในเว็บไซต์เดียวกัน
        3.การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น