วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 8 การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

              ในปัจจุบันโลกของอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลให้เราได้ค้นหาอย่างมากมาย  ซึ่งจะมีเว็บไซต์ที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้เราเข้าไปค้นหา แต่เราต้องการพิมพ์ชื่อว็บไซต์เหล่านั้นเพื่อเข้าไปค้นหาข้อมูลก็ทำให้เราต้องรู้จัก URL ของเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านั้น ทำให้ผู้ใช้ไม่สะดวกในการใช้งาน จึงได้มีผู้สร้างโปรแกรมขึ้นโดยรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ ไว้ โดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่ของข้อมูลเหมือนกับห้องสมุดที่มีหนังสือมากมายก็จำเป็นที่ต้องตั้งหมวดหมู่หนังสือเพื่อจะได้จัดหนังสือให้เป็นระเบียบตามหมวดหมู่ ผู้ที่เข้ามาใช้งานก็สามารถหาหนังสือตามหมวดหมู่ที่ต้องการได้ทันที ซึ่งภายในหมวดหมู่นั้นก็จะมีหนังสือหลายๆ เล่มให้เราเลือกเช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่ของว็บไซต์ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ง่ายขึ้น โดยเลือกค้นหาตามหมวดหมู่ หรือ หัวข้อเรื่องที่ตนเองสนใจได้โดยไม่ต้องรู้จัก URL ของเว็บไซต์นั้น เพียงแต่เรากรอกคำหรือหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหา เว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันก็จะแสดงออกมาวิธีนี้เป็นลักษณะของการใช้เครื่องมือช่วยในการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า “เครื่องจักรค้นหา”  (Search Engine)
         เครื่องจักรค้นหา (Search Engine) คือ เครื่องมือ หรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในการค้นหาข้อมูลและข่าวสารในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (เสาวคนธ์ คงสุข, 2544: 198)
         ประเภทของการค้นหาข้อมูล
         การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท คือ

Search Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง
                  Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมช่วยในการค้นหาที่เรียกว่า “Robot” ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลซึ่งการค้นหาข้อมูลรูปแบบนี้จะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการ เพราะได้ระบุคำที่เจาะจงลงไป เพื่อให้ Robot เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมากเช่น www.google.co.th


Search Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่

         การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลจะจัดตามข้อมูลที่คล้ายกัน หรือเป็นประเภทเดียวกัน นำมารวบรวมไว้ในกลุ่มเดียวกัน

         ลักษณะการค้นหาข้อมูลแบบ Search Directories จะทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกข้อมูลที่ต้องการค้นหา และทำให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ

         การค้นหาวิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถเลือกจากชื่อไดเร็กทอรีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาและสามารถเลือกที่จะเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างได้ทันที เช่นwww.sanook.com


Metasearch การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล

         เป็นลักษณะของการค้นหาข้อมูลจากหลายๆ Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Metasearch จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายๆ แห่งมาใช้ แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามต้องการ เช่น www.thaifind.com

การค้นหาโดยใช้ Search Engine
          การใช้วิธีการค้นหาข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งรูปแบบในการค้นหาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
          1. การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา หรือที่เรียกว่า “คีย์เวิร์ด”
          2. การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเรกทอรี (Directories)

การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา
          วิธีการค้นหาข้อมูลในลักษณะนี้ก็คือ การระบุคำที่ต้องการค้นหา หรือที่เรียกว่า “คีย์เวิร์ด” (Keyword) โดยในเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป แล้วจะนำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ

วิธีการค้นหาข้อมูลแบบระบุคำที่ต้องการค้นหา หรือคีย์เวิร์ด  
          โดยจะเลือกเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลที่เรามักจะเรียกว่า “เว็บไซต์สำหรับ Search Engine” ซึ่งมีเว็บไซต์ต่างๆ หลายเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านนี้ เช่นwww.google.co.th การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูล เราจะต้องพยายามระบุคำให้ชัดเจนเพื่อจะสามารถให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ หรือให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด

วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ คือ
          1. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ในช่อง Address เช่นwww.google.co.th
          2. กรอกคำที่ต้องการค้นหาในช่องที่เว็บไซต์ได้กำหนดไว้
          3. เว็บไซต์จะค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีคำที่เหมือนกับคำที่เราได้กรอกไว้ในช่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล
          4. คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการ เข้าไปค้นหารายละเอียดของข้อมูลต่อไป ดังตัวอย่าง เมื่อคลิกเลือกการศึกษา Education แล้วจะแสงเว็บไซต์ของหัวข้อเรื่องดังกล่าวออกมา
การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเร็กทอรี (Directories)
          การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิดเข้าไปในห้องสมุด ซึ่งได้จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว และเราก็ได้เดินไปยังหมวดหมู่ของหนังสือที่ต้องการ ซึ่งภายในหมวดใหญ่นั้นๆ ยังประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อยๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน เราก็สามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้ แล้วก็เปิดเข้าไปอ่านเนื้อหาข้างในของหนังสือเล่มนั้นๆ วิธีนี้จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้ เช่น

                   www.siamguru.com                                
                   www.hunsa.com
                   www.archive.otg                                       
                   www.search.msn.com                                      
                   www.sanook.com                                      
                   www.excite.com

วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ คือ
          1. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ในช่อง Address เช่นwww.sanook.com
          2. เลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล เช่น การศึกษา จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้
          โรงเรียน, สถาบันอุดมศึกษา, สถาบันกวดวิชาและสอนพิเศษ, และนะแนวการศึกษา
          3. เมื่อคลิกที่หัวข้อเรื่องย่อยที่ต้องการ เช่น สถาบันอุดมศึกษา
          4. จะปรากฏหัวข้อเรื่องย่อยของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
          หมวดย่อย
          - สถาบัน (5/5)                                                                     
          - มหาวิทยาลัยของรัฐ (5/5)
          - มหาวิทยาลัยเอกชน (3/2)                            
          - มหาวิทยาลัยราชภัฏ (6/3)

           ทำให้สามารถเลือกข้อมูลได้ตรงกับความต้องการได้มากที่สุดโดยทำให้ไม่เสียเวลาในการเลือกข้อมูล เพราะได้จัดข้อมูลแบ่งเป็นกลุ่มข้อมูลย่อยๆ
          5. นอกจากแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยของข้อมูลแล้วยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกค้นหาข้อมูลอีกมากมาย
เทคนิคในการค้นคว้าข้อมูล

          1. การใช้ภาษา การค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด สามารถค้นหาได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งรูปแบบของภาษาไทยนั้นจะเป็นการเขียนประโยคที่ต่อเนื่อง เช่น ขนมไทย ศิลปะ  วัฒนธรรมไทย สมุนไพรไทย เป็นต้น แต่การค้นหาด้วยภาษาอังกฤษ จะแตกต่างจากภาษาไทย คือภาษาอังกฤษจะเป็นการแบ่งวรรคของคำ เช่น Thai foodซึ่งถ้าพิมพ์คำนี้แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือ จะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำว่า Thai หรือFood หรือThai food ออกมาให้ทั้งหมดทำให้ได้รับข้อมูลมากมายเกินความต้องการ แต่ถ้าต้องการให้คำว่า Thai food เป็นข้อความเดียวกัน ต้องพิมพ์คำดังกล่าวไว้ในเครื่องหมายคำพูด (“ ”) เช่น “Thai food”  ซึ่งแปลว่าอาหารไทย เมื่อให้เว็บไซต์ค้นหาข้อมูลให้ก็จะแสดงเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคำว่า “Thai food”   เท่านั้น ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ต้องการแคบลง ช่วยให้เราสามารถหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้เร็วขึ้น

          2. ควรบีบประเด็นให้แคบลง หรือใช้คำให้ชัดเจน ตรงประเด็นที่ต้องการผลลัพธ์ให้มากที่สุด เพราะข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอยู่มากมาย ถ้าเราสามารถระบุคำที่ชัดเจนและตรงประเด็นแล้ว จะเป็นการกรองข้อมูลให้กับเราได้ ทำให้เราได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการชัดเจน และสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่น ถ้าต้องการค้นหาข้อมูลของอาหารไทยเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ควรที่จะกำหนดข้อความในการค้นหา คือ “Thai food in Thailand” จะเป็นการกรองข้อมูลให้เราได้ประเด็นที่แคบลง

          3. การใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันคำในภาษาอังกฤษมีหลายๆคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น world และ earth แปลว่า โลก ถ้าต้องการหาคำว่า worldแล้วผลลัพธ์ที่ได้ไม่สามารถหาข้อมูลของคำนี้ได้ เราควรลองเปลี่ยนเป็นคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน

          4. การใช้โอเปอเรเตอร์ หรือบูลีน เมื่อต้องการเจาะจงในการค้นหาข้อมูล ก็สามารถที่จะนำโอเปอเรเตอร์ หรือบูลีน มาเป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อมูลได้ เพื่อให้สามารถหาข้อมูลได้รวดเร็วและตรงกับความต้องการมากที่สุด โอเปอเรเตอร์ที่ใช้ คือ AND, OR, AND NOT และเครื่องหมาย +,-
           AND “และ เช่น computer and design ผลลัพธ์ที่ได้จะได้ข้อมูลที่ต้องมีทั้งคำว่า “computer” และ “design” อยู่ด้วยกันเท่านั้น จึงจะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง
          OR “หรือ การใช้คำว่า OR ถ้ามีคำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียวก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดงให้ เช่น computer or design คือ จะมีแต่คำว่า “computer” หรือมีแต่คำว่า“design” หรือมีทั้งคำว่า “computer” และ “design” ก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง การใช้คำว่า OR ช่วยในการหาข้อมูลนั้นทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีขอบเขตกว้างมาก
           AND NOT หรือNOT เช่น computer and not design หมายความว่า “ให้ค้นหา ข้อมูลที่มีคำว่า computer แต่ต้องไม่มีคำว่า design มาด้วย” ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้เมื่อใช้ข้อความนี้ในการค้นหาข้อมูลก็จะแสดงข้อมูลเฉพาะที่มีแต่คำว่าคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าข้อมูลใดมีคำว่า “design” อยู่ด้วยจะไม่ดึงเอาข้อมูลนั้นมาแสดง
                   
          เครื่องหมาย + หมายความว่า คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องมีคำนั้นอยู่ในเว็บเพจนั้น เหมือนกับคำว่า AND
          เครื่องหมาย – หมายความว่า คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องไม่มีคำนั้นอยู่ใน เว็บเพจนั้น เหมือนกับคำว่า NOT
          เช่น  + computer  design ข้อมูลที่จะแสดงออกมาจะต้องมีคำว่า computerแต่ไม่มีคำว่า design

รวมเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูล

          www.siamgrur.com                                         www.sanook.com
          www.google.co.th                                            www.search.com
          www.thaihostsearch.com                                  www.catcha.co.th
          www.hotbot.com                                             www.search.msn.com
          www.yahoo.com                                              www.excite.com
          www.thaifind.com                                           www.siam-search.com
          www.sansarn.com                                           www.thai-index.com
          www.madoo.com                                            www.allofthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น